วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเตรียมตัวก่อนสอบ

การสอบ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ต้องเก็บตัวเงียบเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมให้มากในการนำไปสอบแข่งขัน การที่จะทำข้อสอบให้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจนั้น ต้องมีการวางแผนการศึกษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ควรให้เวลากับการศึกษาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ

1. การเตรียมความพร้อมก่อนวันสอบ ต้องให้ความสำคัญกับตารางสอบให้มาก ๆ เพราะตารางสอบจะบ่งบอกถึง วัน เวลา วิชาที่สอบ

2. ความพร้อม โดยก่อนออกจากบ้านไปยังสถานที่สอบ ให้ความสำคัญกับการแต่งกายหรือยัง การแต่งกายต้องสุภาพเรียบร้อย (ชุดนักเรียน) ถูกต้องตามระเบียบการแต่งกายของนักเรียนระดับ ม. ปลายหรือยัง ถ้ายังสำรวจตัวเองก่อนที่คณะกรรมการผู้คุมสอบจะไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบนะคะ

3. เมื่อเข้าห้องสอบนั่งนิ่ง ๆ ทำใจให้สบาย ฟังคำชี้แจงจากคณะกรรมการคุมสอบให้ละเอียด ไม่เข้าใจให้สอบถามทันที เขียนชื่อ - สกุล รหัส ในกระดาษคำตอบให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะถ้าลืม ต่อให้เก่งสักเท่าไร บวก ไสยศาสตร์ก็ช่วยอะไร ไม่ได้นะคะ

4. รวบรวมสติให้มั่น อ่านคำชี้แจงให้ชัดเจน และให้เข้าใจ พร้อมทั้งสำรวจว่าข้อสอบที่ได้มีจำนวนข้อ และจำนวนหน้าตรงตามคำชี้แจงที่ข้อสอบได้ระบุไว้หรือไม่ ถ้ามีปัญหาอะไรให้รีบแจ้งคณะกรรมการคุมสอบโดยเร็ว

5. น้องต้องวางแผนการใช้เวลาในการสอบทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาในการทำข้อสอบข้อละกี่นาที จึงจะเสร็จ ควรควบคุมและใช้เวลาในการทำข้อสอบตามแผนที่วางไว้ เพราะเมื่อพบข้อที่ยาก อาจจะทำให้ทั้งเวลาและความรู้สึกของเราเสียไปได้

6. รีบจดสาระสำคัญ เช่น สูตร หรือข้อความที่ต้องใข้ในวิชานั้น ๆ ลงในกระดาษคำถามก่อนที่ความตื่นเต้นจะทำให้ลืมไปเสียก่อน

7. เลือกทำข้อสอบในส่วนของข้อที่ง่ายก่อน แล้วค่อยทำข้อสอบในส่วนที่ยากต่อไป เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ในสถานการณ์ที่พบข้อที่ยากให้ทำเครื่องหมายและข้ามไปทำข้อถัดไปก่อนแล้วจึงย้อนกลับมาทำใหม่ ระวังข้อคำถามหรือต้องเลือกที่มีคำที่เป็นปฏิเสธ หรือปฏิเสธซ้อนปฏิเสธให้ใช้ความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาความหมายที่ถูกต้อง เพราะจะทำให้เสียคะแนนได้

8. น้องควรใช้ความรู้ในการทำข้อสอบและไม่ต้องสนใจกับรูปแบบของข้อที่ตอบให้มากนัก เช่น ตอบข้อ ก แล้ว ข้อถัดไปไม่ควรจะเป็นข้อ ก อีก เป็นต้น ให้คำนึงถึงตัวเนื้อหาที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องดีกว่า เพราะถ้ายึดติดกับตัวรูปแบบของการตอบแล้ว อาจทำให้พลาดจากคะแนนที่ต้องการได้ค่ะ

9. การตอบปกติแล้วคำตอบที่คิดไว้เป็นครั้งแรกมักจะเป็นคำตอบที่ถูก แต่ถ้าหากจะเปลี่ยนคำตอบ ควรเปลี่ยนเมื่อแน่ใจจริง ๆ ว่าที่ตอบมาแล้วตอบผิด แต่หากไม่แน่ใจให้คงคำตอบเดิมไว้นะคะ ความรู้ไม่เข้าใครออกใคร ความคิดครั้งแรกจะเป็นจะเป็นตัวช่วยเพิ่มคะแนนให้ได้คะ ถ้าเวลาในการทำข้อสอบเหลือพอที่จะทบทวนให้น้องย้อนกลับไปทบทวนเฉพาะข้อที่ยากและไม่เข้าใจ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง และถ้าข้อสอบที่มีตัวเลือกเหลือให้ต้องเดาต้องเดาอย่างมีหลักการของความถูกต้องนะคะ เพราะไม่งั้นคะแนนอาจติดลบได้ค่ะ แต่บางคนมีเคล็ดลับการเดาที่ดี คือ การมีพื้นฐาน ความรู้และประสบการณ์ ก็อาจทำแต้มขึ้นมาได้ค่ะ

10. ข้อสอบที่นิยมนำมาทดสอบจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ข้อสอบแบบ ปรนัย และ ข้อสอบแบบอัตนัย ซึ่งบางคนอาจจะสับสนกับ คำว่า "ปรนัย" และ "อัตนัย" อยู่บ้าง "ปรนัย" คือ ข้อสอบที่มีคำถาม พร้อมตัวเลือกให้เลือกตอบ จำนวน 4 ตัวเลือก (ระดับมัธยมศึกษา) และ "อัตนัย" คือ ข้อสอบที่มีคำถาม เพียงอย่างเดียว แล้วให้หาคำตอบจากการแสดงวิธีทำ เพื่อให้ได้คำตอบที่ต้องการ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปเนื้อหาของข้อสอบที่ใช้ จะวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ ของผู้เรียนมากกว่า โดยใช้หลักการของนักจิตวิทยาการศึกษา 11. อย่าลืมตรวจสอบกระดาษคำตอบว่าได้ตอบทุกข้อคำถามและเลือกตอบเพียง 1 ตัวเลือกเท่านั้นก่อนส่งให้กรรมการคุมสอบด้วยนะคะ

12. หลังสอบเสร็จแล้วให้กลับไปทบทวนในข้อที่ยากหรือข้อที่ไม่แน่ใจทันที เพื่อเป็นการเรียนรู้จากข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนอีกครั้ง สำหรับในการสอบครั้งต่อไป

บางคน อาจจะเห็นความสำคัญของเนื้อหาในเรื่องนี้เป็นแค่เรื่องธรรมดา แต่อย่าประมาทนะคะ เพราะความประมาททำให้พลาดโอกาสมานักต่อนักแล้ว เตรียมตัวกันไว้แต่เนิ่น ๆ ดีที่สุดดด

"ความสำเร็จในทางการศึกษา มิได้มาเพราะโชคช่วย หรือด้วยคำพร่ำภาวนา แต่มาจากการไขว่คว้า พยายาม เอาจริงเอาจังและมีวินัย"


จำไว้ก่อนสอบ

1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

2. ทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว

3. กินอาหารที่มีประโยชน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น